วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2561

งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 68 ปีการศึกษา 2561


กติกานักบินน้อย สพฐ. มาแล้ว

เครื่องร่อนบินนาน...เริ่มต้นนับ 1 ใหม่อีกครั้ง?

https://www.youtube.com/watch?v=NaXFPM-k6SQ            เครื่องร่อน Outdoor บินนาน 31s

ทุกอย่างพร้อม...ขาดอย่างเดียวคือนักบิน(แล้วจะเรียกว่าพร้อมได้ยังไง?)

ฝันให้ไกลแล้วไปให้ถึง เป้าหมายมีไว้พุ่งชน  อยากเห็นต้นแบบเครื่องร่อนบินนาน เครื่องร่อนบินไกล ไว้เป็นไอเดียเพื่อเตรียมการแข่งขัน นักบินน้อย สพฐ. ก็ให้พิมพ์คำว่า เครื่องร่อนครูสุทธิพร  ใน Google คลิกที่แท็บ วิดีโอ...ชมกันได้!
 

วันอาทิตย์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 67


งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 67

เครื่องร่อนบินนาน...ทดสอบบิน

ฝันให้ไกลแล้วไปให้ถึง เป้าหมายมีไว้พุ่งชน  อยากเห็นต้นแบบเครื่องร่อนบินนาน เครื่องร่อนบินไกล ไว้เป็นไอเดียเพื่อเตรียมการแข่งขัน นักบินน้อย สพฐ. ก็ให้พิมพ์คำว่า เครื่องร่อนครูสุทธิพร  ใน Google คลิกที่แท็บ วิดีโอ...ชมกันได้!

https://www.youtube.com/watch?v=NaXFPM-k6SQ                    เครื่องร่อน Outdoor บินนาน 31s

วันพฤหัสบดีที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558

Strong ได้อีกกับ...เครื่องร่อน vs เครื่องบินพลังยาง...ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้

4 in 1 ครู Happy นักเรียนมีความสุขลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้...กับการสร้างเครื่องร่อน vs เครื่องบินพลังยาง
...จะเตรียมความพร้อมสู่งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน [นักบินน้อย สพฐ.] หรือจะให้เด็กทำเป็นโครงงาน-ชมรม-ชุมนุม-ก็น่าสนใจนะกับของเล่นเชิงวิทยาศาสตร์แบบนี้?! เพียงคีย์คำว่า เครื่องร่อนครูสุทธิพร  ใน Google คลิกที่แท็บ วิดีโอ...ชมกันได้!
ฝากไว้ให้รับชม https://www.facebook.com/Littlepilotobec     เครื่องร่อนบินนาน,บินไกล & เครื่องบินพลังยาง

          ใครที่ชอบจะกด "Like" ใครที่ว่าใช่จะกด "Share" หรือแค่จะดูผ่านๆ ก็ไม่เป็นไร!!!


วันพุธที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การปล่อยเครื่องบินพลังยางบินนาน...แบบ Indoor! ปีกโฟม 30 กว่าวินาทีก็พอได้!!!

          การแข่งขันเครื่องบินพลังยางบินนาน เป็น 1 ใน 2 รายการแข่งขันเครื่องบินพลังยาง นักบินน้อย สพฐ. ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ที่มีการจัดการแข่งขันติดต่อกันมาก็หลายปีพอสมควร  คือจะตีคู่มากับประเภทบินไกล  ใครถนัดแบบไหนก็จะส่งแบบนั้นๆ เข้าร่วมประกวด  ประชันขันแข่ง  ซึ่งจะว่าไปแล้วในการแข่งขันนั้นก็จะเริ่มต้นค้นหาหรือว่คัดตัวนักบินกันตั้งแต่ภายในโรงเรียนในกรณีที่มีตัวเลือกเยอะเพื่อไต่เพดานบินไปสู่ระดับศูนบ์เครือข่ายหรือว่ากลุ่มโรงเรียนกันเลยทีเดียว 
            2 นักบินต่อ 1 ทีมการแข่งขันบวกกับอีก 1 นักบินสำรองเอาไว้เปลี่ยนตัวในกรณีฉุกเฉินเกิดเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึง...ทีมไหนมีพื้นฐานทักษะในการสร้างการทำเครื่องบินที่เหนือกว่าประกอบกับมีชั่วโมงบินสูงกว่าก็มีโอกาสที่จะเป็นผู้ชนะและได้เป็นตัวแทนเข้าแข่งขันในระดับเขตพื้นที่ต่อไป
            เมื่องานเข้าและเราเป็นผู้ชนะก็จะพบกับความยากที่เรียกว่าอุปสรรคที่มีมากขึ้น...จะจนมุมหรือได้ไปต่อก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง  อาทิ เช่น
- จำนวนศูนย์เครือข่ายหรือกลุ่มโรงเรียนที่ส่งเข้าร่วมการแข่งขัน
- ฝีไม้ลายมือของผู้เข้าแข่งขัน+ความนิ่งของตนเอง ชั่วโมงบินในการฝึกซ้อมเพียงพอมั๊ย? เข้าใจในเรื่องของหลักอากาศพลศาสตร์ ดีหรือไม่? แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่จะเกิดขึ้นได้หรือเปล่า?
- รูปแบบเครื่องบินของเราเป็นอย่างไร? วัสดุ-อุปกรณ์ที่ใช้  ขนาด  น้ำหนัก  ถูกต้องตามพิกัดที่กำหนดหรือยัง???
- โชคชะตาฟ้าลิขิตและเรื่องของดวงก็มีผลอย่าได้มองข้าม  โดยเฉพาะที่แข่งขันกลางสนามประเภท Outdoor ทั้งหลายที่มีพระพายเป็นผู้ร่วมชี้ชะตา
            ถ้า! ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปตามความคาดหมายผ่านด่านนี้ไปได้ด้วยคะแนนนำมาเป็นที่ 1 ก็จะสมกับความตั้งใจและเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้เป็นตัวแทนเข้าแข่งขันในระดับภาคต่อไป...ขอเป็นกำลังใจให้
            มาถึงจุดนี้ไม่มีคำว่าลำบากไม่ซีเรียสแล้วกับผลการแข่งขันแพ้-ชนะที่จะเกิดขึ้นข้างหน้าขอแค่ว่าทำให้ดีที่สุดทั้งครูฝึกและนักบิน  เพราะที่เหลือมันคือกำไรชีวิตทั้งเด็กและครูอยู่แล้วกว่าจะมาถึงขั้นนี้ที่สำคัญลำดับที่ 1-3 เท่านั้นที่จะผ่านไปสู่เวทีระดับประเทศได้...ไม่ง่ายเลยซักนิดเพราะในขณะที่เรากำลังพัฒนาก็ใช่ว่าคู่ต่อสู้เขาจะอยู่นิ่งๆ ซะเมื่อไร! ขอเพียงมีกำลังใจก้าวต่อไปอย่างไม่ย่อท้อขอบอกว่าชัยชนะจะเป็นของคุณในวันข้างหน้าไม่วันใดก็วันหนึ่งอย่างแน่นอน....

ฝากไว้ให้รับชมเพื่อสร้างจินตนาการที่จะเกิดขึ้นต่อไป...




http://youtu.be/FSyWCzKtVaE     เครื่องบินพลังยางบินนาน_ปีกโฟม 30 s+
https://www.facebook.com/Littlepilotobec      ฝากไว้ให้รับชม




วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2557

คนล่าฝัน_เครื่องร่อนบินนานก็ได้บินไกลก็ดี

อ่านเรื่องนี้จบบินนานแน่นอน...ฟันธง!!!

          งานอดิเรกอย่างหนึ่งของผมก็คือการสร้างเครื่องร่อน ยิ่งพักหลังๆ มานี้ชักติดงอมแงมซะแล้ว  ครูของผมก็ไม่ใช่ใครที่ไหนหรอกครับอาจารย์สุรเกียรติ  ลิบลับ  ที่นับว่าเป็นกูรูเครื่องร่อน และ เครื่องบินพลังยาง คนหนึ่งของเมืองไทยก็ว่าได้และอีกคนก็คือครูเหมียว  ที่เคยเคี่ยวเข็ญจนผมทำได้ทำเป็นอย่างที่เห็นเช่นทุกวันนี้  ขอบพระคุณทั้ง 2 ท่านไว้ ณ โอกาสนี้ด้วยครับ 
สำหรับผมแล้วโจทย์ใหญ่ข้อต่อไปก็คือจะทำอย่างไร? ให้ร่อนได้ไกลๆ หรือร่อนอยู่ในอากาศได้นานๆ กว่าทุกวันนี้...ซึ่งก็มีทีท่าว่าจะพัฒนาแบบไม่หยุด! ฉุดไม่อยู่! ซะด้วย (ว่าเข้าไปนั่น)
          ไหนๆ ก็ไหนๆ ตอนนี้ก็เลยมีไอเดียดีๆ ที่จะเป็นทางเลือกให้คุณครูผู้สนใจมีเก็บไว้ในครอบครอง  มีไว้เป็นต้นแบบและพัฒนาต่อยอดเพื่อฝึกซ้อมเด็กของตนเข้าแข่งขันในรายการนักบินน้อย สพฐ. ในปีต่อๆ ไป...ฝึกฝนก่อนมีชั่วโมงบินมากกว่าก็ย่อมได้เปรียบล่ะครับ
          แต่! ช้าก่อน...อย่าเพิ่งเชื่อในสิ่งที่ยังไม่ได้เห็นลองเข้าไปที่เว็บไซต์ Google แล้วพิมพ์คำว่า  เครื่องร่อนครูสุทธิพร  ในช่อง Search เปิดดูให้เห็นกับตาก่อนว่าน่าจะเข้าข่ายประเภทไหน? ระหว่างเครื่องร่อนบินไกลกับเครื่องร่อนบินนาน?
และก่อนจะไปถึงตรงนั้น...แวะชมคลิปเด็ดๆ เรียกน้ำย่อยตาม Links นี้ก่อนก็แล้วกัน
เครื่องร่อน  http://www.youtube.com/watch?v=HcH3TfZNyEA
เครื่องร่อน  http://youtu.be/6c3b2NCagnI  

เครื่องร่อน  http://www.youtube.com/watch?v=-0-ONUezkHA&feature=youtu.be 
เครื่องร่อน  http://www.youtube.com/watch?v=uskl6-EzG_w

วันจันทร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2557

ทดสอบเครื่องร่อน_ก่อนขึ้นบินทุกครั้ง

เครื่องร่อน จะบินดีหรือ บินนาน ได้นั้นไม่ใช่แค่การตัดโฟมมาทำเป็นปีก  แพนหางดิ่ง  แพนหางระดับ  จับมาติดเข้ากับลำตัวแล้วก็จบ...จะต้องพบกับปัญหาและอุปสรรค หาวิธีการแก้ไขปัญหาเทคนิควิธีการ  ถามผู้รู้  ฝึกซ้อมบ่อยก็จะค่อยๆ เกิดเป็นองค์ความรู้ขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติ...สักวันเราก็จะเป็นหมายเลข 1
สนใจอยากมีไว้เป็นต้นแบบก็ติดต่อได้ที่ 084-0396633...ครูสุทธิพร  ตอนนี้กำลังพัฒนาอีกต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง  
 คลิก 4 คลิปด้านล่าง...เพื่อรับชมแล้วจะถึงบางอ้อ...ลองทำดูคุณครูทำได้แน่นอน



วันอังคารที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2557

เครื่องร่อน_บินนานกับการปรับแต่งก่อนบิน


อ่านเรื่องนี้จบบินได้แน่นอน...ฟันธง!!!

          เมื่อพูดถึงเครื่องร่อน ไม่ว่าจะเป็นบินนานหรือบินไกล (ที่ถูกน่าจะเรียกว่าร่อนนานหรือร่อนไกล มากกว่า) มีสิ่งหนึ่งที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดกับเครื่องบินบังคับนั่นก็คือ เครื่องร่อนนั้น ต้องมีการปรับแต่งให้มั่นใจว่าดีที่สุดถูกต้องตามหลักการที่สุดก่อนบินหรือก่อนที่จะปล่อยให้หลุดลอยออกไปจากมือ...เพราะเมื่อบินแล้วถือว่าหมดสิทธิ์นั้นทันที! ส่วนเครื่องบินบังคับนั้นยังมีโอกาสแก้ไขกันกลางอากาศโดยใช้รีโมทควบคุมการบินได้
          ข้อสำคัญข้อแรกหลังสร้างเครื่องร่อนเสร็จก็คือทำอย่างไร? จะให้บินวนซ้ายหรือขวาตามความถนัดจัดเต็มแบบให้ค้างอยู่ในอากาศนานที่สุดเราก็จะได้ชื่อว่าเป็นผู้ชนะ ยิ่งรู้สถานที่หรือสนามแข่งขันก่อนก็ยิ่งได้เปรียบคู่แข่งขัน เพราะ Indoor กับ Outdoor ขอบอกว่าแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
          ข้อต่อมาที่สำคัญไม่แพ้กันกับการที่จะเป็นจ้าวเวหาในเรื่องเครื่องร่อนได้นั้นต้องเรียนรู้  ต้องทดลอง...ลองผิดลองถูกเพราะผิดเป็นครูอยู่แล้ว!

ทางลัดที่ใช้เวลาศึกษาเรียนรู้ที่สั้นที่สุด...ก็คือการเรียนรู้จากความสำเร็จของคนอื่น(ใครก็ได้ที่เข้าข่ายที่ว่านั้น) จะง่ายกว่ามาเริ่มต้นนับ 1-2-3 เป็นร้อยเท่าพันเท่า...เพราะเราจะนับจาก 50 เป็นต้นไปยังไงๆ ก็ถึงหนึ่งร้อยก่อนอยู่ดี...พี่ครูน้องครูอ่านแล้วถ้ายังมีข้อสงสัยอยากดูให้เห็นกับตาก็ลองใช้คำค้นในกูเกิลว่า เครื่องร่อนครูสุทธิพร  จะใช้เบราเซอร์ IE, Firefox หรือ GoogleChrome ก็ไม่ว่ากันจากนั้นลองคลิกที่แท็บ วิดีโอ...เท่านี้ก็เจอกันแล้วครับคลิปเด็ดๆ จาก YouTube ก็จะมาเข้าคิวรออยู่ตรงหน้าจะดูคลิปไหนก่อนหรือหลังก็ไม่ว่ากัน  ส่วนเทคนิคต่างๆ ก็ค่อยๆ ติดตามกันต่อไปนะครับ...สวัสดี